วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคไข้สามวัน

โรคไข้สามวัน (Bovine ephemeral fever)
ระวัง !!

เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในโค พบในโคได้ทุกอายุ แต่ลูกโคอายุต่ำกว่า 6 เดือนมักไม่แสดงอาการ โรคนี้มีระยะฟักตัว 2-10 วัน พบในส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย บางส่วนของอาฟริกาและออสเตรเลีย ความสูญเสียที่เกิดจากโรคนี้คือ ทำให้น้ำนมลด ในโคนม อาจลดลงถึง 80% หากเกิดโรคในช่วงท้ายของระยะให้นม รวมทั้งสัตว์ที่ติดเชื้อจะอ่อนแอทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายสำหรับการเกิดโรคนี้ในประเทศไทย ราตรีและคณะ (2527) ได้สำรวจตรวจสภาวะของโรคนี้ในภาคใต้พบอัตราการติดเชื้อโดยเฉลีย 70 และ 47.5% ในโคและกระบือ ต่อมาปราจีนและคณะ(2530) ศึกษาที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบรี พบโคมีอัตราการติดเชื้อ 93.6% และในปี 2535 สุพจน์และอารี สามารถแยกเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้
สาเหต
เกิดจากแรมโคไวรัส (rhabdovirus)
การติดต่อ
มีแมลงดูดเลือดเป็นพาหะนำโรค (การติดต่อไม่เกิดจากการสัมผัสโดยตรงหรือจากน้ำมูก น้ำลาย รวมทั้งน้ำเชื้อของสัตว์ป่วย)
อาการ
โคจะมีไข้ 105-106 อาศาฟาเร็นไฮ เบื่ออาหาร กล้ามเนื้อสั่น ตัวแข็ง ขาแข็ง ขาเจ็บ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต น้ำนมลด และมีน้ำมูก น้ำลายไหล บางรายบริเวณคอหรือไหล่อาจบวมส่วนใหญ่สัตว์มักมีไข้ ซึม เบื่ออาหารอยู่ประมาณ 3 วัน ก็จะเริ่มกินอาหารได้ จึงมีชื่อเรียกว่า "ไข้สามวัน" แต่อาการขาเจ็บและอ่อนเพลียยังคงมีอยู่
การตรวจวินิจฉัย
1) โดยดูจากอาการร่วมกับการแยกเชื้อไวรัส การแยกเชื้อทำจากเลือดโคในช่วงที่มีไข้สูง
2) ตรวจจากซีรั่ม

การรักษา
ไม่มียารักษาโดยตรง การรักษาทำโดยให้ยาปฏิชีวนะป้องกันโรคแทรกซ้อนร่วมกับยาบำรุง ควรหลีกเลี่ยงการกรอกยาเนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบ สัตว์ที่ขาเจ็บ ลุกไม่ขึ้น ควรได้รับการดูแลที่เหมาะสม
การควบคุมและป้องกัน
โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน แต่ปัจจุบันยังไม่มีการใช้วัคซีนป้องกันโรคนี้ในประเทศไทย
การเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ
1) กรณีที่ต้องการแยกเชื้อไวรัส เก็บเลือดผสมสารกันการแข็งตัวของเลือด การใช้สารเฮฟพาริน (heparin) ให้ผลดีกว่าอีดีทีเอ (EDTA) เก็บตัวอย่างในที่เย็นและรีบส่งห้องปฏิบัติการโดยเร็วภายใน 24 ชั่วโมง
2) กรณีที่ตรวจจากซีรั่ม ต้องทำซีรั่มคู่โดยเจาะเลือด 2 ครั้ง ห่างกัน 2-3 สัปดาห์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น